จำหน่ายและให้บริการ

·       เครื่องปั๊มลมแบบสกรู  (Screw Air Compressor)

·       เครื่องทำลมแห้ง  (Refrigerant Air Dryers)

·       อะไหล่เครื่องปั๊มลม  (Filter for Compressors)

·       ชุดกรองในระบบอัดลม  (Compressor Air Filter)

·       เครื่องเช่า 3-200 แรงม้า  (Stand By 3-200 Hp)

·       อุปกรณ์นิวเมติกส์ ไฮโดรลิค  (Pneumatic & Hydraulic)

·       เครื่องทำความเย็น  (Chiller Unit)

·       งานซ่อมโอเวอร์ฮอร์นและบำรุงรักษาเครื่อง  (Overhaul & Service Maintenance)

·       งานติดตั้งท่อลมและระบบไฟฟ้า  (Piping & Electrical Work)

  • air compressor, curze rand
    ปั๊มลม (AIR COMPRESSOR)

    ปั๊มลม (AIR COMPRESSOR)

    ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดลม ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นระบบลมในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ระบบนิวเมติกส์ และอุตสาหกรรมครัวเรือน เช่น ร้านซ่อมรถ ซึ่งจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston Air Compressor) เพราะใช้แรงดัน (Pressure) ไม่สูงมาก เป็นต้น ส่วนเครื่องปั้มลมที่ใช้ในโรงงานนั้นส่วนมากแล้วจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor) ซึ่งจะใช้แรงลมที่มากกว่า

    ประเภทของปั๊มลม ปั้มลม (AIR COMPRESSOR)

    ปั๊มลมหรือเครื่องอัดลมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทด้วยคือ

    1.ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
    2.ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
    3.ปั้มลมแบบ ไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR )
    4.ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
    5.ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
    6.ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)
  • air dryer,
    AIR DRYER

    AIR DRYER

    ทำหน้าที่ ให้ลมที่ถูกผลิตมาจากเครื่องอัดอากาศ (AIR COMPRESSOR) น้อยมากที่สุด ซึ่งหลักการทำงานของ AIR DRYER เพื่อไม่ให้ลมมีความชื้นติดไปด้วยคือ ลมที่เข้ามาจะถูกแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำยาทำความเย็น ซึ่งจะทำให้ความชื้นที่อยู่ในลมกลั่นตัวออกเป็นน้ำ และถูกระบายทิ้งโดย AIR DRYER ลมที่ผ่านกระบวนการนี้ จะมีสถานะเป็นลมที่แห้ง ออกจาก AIR DRYER (เครื่องทำลมแห้ง) ไปสู่กระบวนการใช้งานของลมต่อไป

    เครื่องทำลมแห้งทำหน้าที่ลดความชื้นออกจากลมอัด ก่อนส่งไปใช้งาน แบ่งตามการทำงานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
    1.แบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer) จุดน้ำค้าง (Dew point) 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส
    2.แบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น (Desiccant Air Dryer) จุดน้ำค้าง (Dew point) -20 ถึง -70 องศาเซลเซียส
  • TATUNG, CHILLER
    หลักการทำงานของ CHILLER

    หลักการทำงาน CHILLER

    โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่จะเป็นเครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ที่เรียกว่า ชิลเลอร์ (Chiller) ซึ่งแบ่งเป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำและระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ซึ่งชิลเลอร์จะอาศัยน้ำเป็นตัวนำพาความเย็นไปยังห้องหรือจุดต่างๆ โดยน้ำเย็นจะไหลไปยังเครื่องทำลมเย็น (Air Handling Unit : AHU หรือ Fan Coil Unit : FCU) ที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่จะปรับอากาศ จากนั้นน้ำที่ไหลออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั๊มเข้าไปในเครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องและไหลเวียนกลับไปยังเครื่องทำลมเย็นอยู่เช่นนี้ สำหรับเครื่องทำน้ำเย็นนี้จะต้องมีการนำความร้อนจากระบบออกมาระบายทิ้งที่ภายนอกอาคารด้วย ซึ่งระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ส่วนใหญ่ที่ใช้มีขนาดประมาณ 100 ถึง 1,000 ตัน เป็นระบบที่ใช้เพื่อต้องการทำความเย็นอย่างรวดเร็ว การทำความเย็นอาศัยคุณสมบัติดูดซับความร้อนของสารทำความเย็นหรือน้ำยาทำความเย็น (Liquid Refrigerant) มีหลักการทำงาน คือ ปล่อยสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจากถังบรรจุไปตามท่อ เมื่อสารเหลวเหล่านี้ไหลผ่านเอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) จะถูกทำให้มีความดันสูงขึ้น ความดันจะต่ำลงเมื่อรับความร้อนและระเหยเป็นไอ (Evaporate) ที่ทำให้เกิดความเย็นขึ้นภายในพื้นที่ปรับอากาศ ดังแสดงในรูป
Visitors: 121,301