AIR COMPRESSOR

ปั๊มลม (AIR COMPRESSOR) 

      ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดลม ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นระบบลมในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ระบบนิวเมติกส์ และอุตสาหกรรมครัวเรือน เช่น ร้านซ่อมรถ ซึ่งจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston Air Compressor) เพราะใช้แรงดัน (Pressure) ไม่สูงมาก เป็นต้น ส่วนเครื่องปั้มลมที่ใช้ในโรงงานนั้นส่วนมากแล้วจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor) ซึ่งจะใช้แรงลมที่มากกว่า 

      ประเภทของปั๊มลม ปั้มลม (AIR COMPRESSOR) 

ปั๊มลมหรือเครื่องอัดลมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทด้วยคือ

  1. ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)

  2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)

  3. ปั้มลมแบบ ไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR )

  4. ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )

  5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )

  6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)

ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)

     เป็นปั้มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถอัดลมได้ตั้งแต่ความดันต่ำ จนถึงความดันสูง สามารถสร้างความดันได้ตั้งแต่หนึ่งบาร์จนถึงเป็นพันบาร์โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ถ้าขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างความดันให้สูงขึ้นตามไปด้วย

ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR )

     ปั้มอัดลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลา สกรูสองเพลาที่หมุนขบกัน เรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย เพลาสกรูทั้งสองจะประกอบอยู่ในตัวเรือน เดียวกันโดยหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน ซึ่งเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีทิศทางการหมุนเข้าหากัน ทำให้ดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที

ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR )

     ใช้หลักการของปั้มลมแบบลูกสูบโดยจะใช้ ไดอะเฟรมเป็นตัวทำให้ลูกสูบและห้องดูดอากาศแยกออกจากกัน นั่นหมายถึงว่า ลมที่ถูกดูดในปั้มอัดลมชนิดนี้จึงปราศจากน้ำมันหล่อลื่น ด้วยเหตุนี้ปั้มอัดลมแบบนี้ จึงนิยมใช้กันในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเคมี

ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )

     ปั้มลมชนิดนี้จะมีการหมุนที่เรียบสม่ำเสมอ เสียงไม่ดัง การผลิตลมเป็นไปอย่างคงที่ ความสามารถในการผลิตลมสามารถทำได้ 4 ถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันที่ทำได้ 4 ถึง 10 บาร์

ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )

     เมื่อโรเตอร์ทั้งสองหมุน อากาศจะถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกอัดตัว แต่อากาศจะถูกอัดตัวในกรณีที่อากาศถูกส่งเข้าไปในถังเก็บลม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน

ปั้มลมแบบกังหัน ( RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR )

     ปั้มลมชนิดนี้ใช้หลักการของกังหันใบพัด การเคลื่อนที่ของโรเตอร์มีความเร็วสูง จะทำให้ลมถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ปั้มลมแบบ นี้เหมาะกับงานที่ต้องการอัตราไหลของลมสูง คือ สามารถผลิตอัตราการจ่ายลมได้ตั้งแต่ 170 ถึง 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที แต่ความดันไม่สูงมากนัก คือ 4 ถึง 10 บาร์

 

ซ่อมปั๊มลม ระยอง

 



  • AIR COMPRESSOR หลักการทำงานของเครื่องอัดอากาศ การทำงานของเครื่องอัดอากาศ(Air compressors) คือ เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่อง ถ้าอากาศยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Sw...

  • วิธีการเลือกซื้อ Air Compressorสำหรับหลักการเลือกซื้อเครื่องอัดลม ประกอบการพิจารณาในการซื้อได้จริงมีดังต่อไปนี้ ชนิดของลมอัด : 1.แบบไร้น้ำมัน (Oil-free) 2.แบบมีน้ำมัน (Oil-lubric...

  • การดูแลรักษาปั๊มลมอย่างถูกวิธี ปั๊มลมที่ใช้งานอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปั๊มลมขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีถึงจะได้มีปั๊มลมที่อายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น 1.สายพาน สาย...

  • ข้อดีของระบบลมอัด ทนต่อการระเบิด ลมอัดไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ราคาแพงสำหรับป้องกันการระเบิด รวดเร็ว ลมอัดมีความรวดเร็วในการทำงานสูงลูกสูบ...

  • AIR DRYERทำหน้าที่ ให้ลมที่ถูกผลิตมาจากเครื่องอัดอากาศ (AIR COMPRESSOR) น้อยมากที่สุด ซึ่งหลักการทำงานของAIR DRYERเพื่อไม่ให้ลมมีความชื้นติดไปด้วยคือ ลมที่เข้ามาจะถูกแลกเปลี่ยนอุณ...

  • เครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer)โดยทั่วไปแล้ว dew point อยู่ระหว่าง 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส หลักการทำงานและไดอะแกรม จากไดอะแกรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคื...

  • หลักการทำงานและไดอะแกรม การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 Tower ดังภาพด้านบน Tower I และ II โดย Tower I จะทำลมแห้งก่อน(Adsorption)ส่วน Tower II จะทำการไล่ความชื้นออกจากเม็ดสาร(Purge)โดยใ...

  • 1. หลักการทำงาน โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่จะเป็นเครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ที่เรียกว่า ชิลเลอร์ (Chiller) ซึ่งแบ่งเป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำและระบบระบายความร...

  • ระบบนิวเมติกส์ หมายถึง ระบบการส่งถ่ายกำลังโดยอาศัยความดันลมเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายกำลัง โดยมีอุปกรณ์เช่น กระบอกสูบ ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมให้เป็นพลังงานกล ข้อดีของระบบนิวเมติกส์...
Visitors: 121,079